วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดนตรีบำบัด (Music Therapy)


ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา
ความหมายของดนตรีบำบัด คือ การวางแผนในการใช้กิจกรรมทางดนตรีควบคุม ในกลุ่มของคนทุกวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก จนถึงวัยสูงอายุ เพื่อให้เกิดผลบรรลุในการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดมาจากความบกพร่องต่างๆ เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ทางร่างกาย และสติปัญญา
ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่าผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ
อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด จึงมีการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัด (music therapy)
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีหลายประการ เช่น ช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ กระตุ้น
ประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
.......จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี........


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


ดนตรีบำบัด (MUSIC THERAPY)

ดนตรี (Music)
ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา
ดนตรี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีผล ดังนี้
ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด
ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์, สติสัมปชัญญะ, จินตนาการ, การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา
องค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรี ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เช่น
1. จังหวะหรือลีลา (Rhythm) ช่วยสร้างเสริมสมาธิ (Concentration) และช่วยในการผ่อนคลาย (Relax)
2. ระดับเสียง (Pitch) เสียงในระดับต่ำ และระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ
3. ความดัง (Volume / Intensity) พบว่าเสียงที่เบานุ่ม จะทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ ในขณะที่เสียงดัง ทำให้เกิดการเกร็ง กระตุก ของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบการควบคุมตนเองได้ดี มีความสงบ และเกิดสมาธิ
4. ทำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล
5. การประสานเสียง (Harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้โดยดูจากปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่าง ๆ จากบทเพลง

ดนตรีบำบัดคืออะไร
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วย การนำดนตรี หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านทางกิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์
เป้าหมายของดนตรีบำบัด ไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์

ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายด้าน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับอายุ และหลากหลายปัญหา ลักษณะเด่น ได้แก่
1. ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย
2. กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน
3. กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน
4. ช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจ
5. เสริมสร้างทักษะทางสังคม และการสื่อสาร
6. ให้การรับรู้ที่มีความหมาย และความสนุกสนาน ไปพร้อมกัน
7. ประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่าย เนื่องจากประยุกต์ใช้ได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตามเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไป ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคอัลไซเมอร์, ปัญหาการบาดเจ็บทางสมอง, ความพิการทางร่างกาย อาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ
สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด และในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้

1. ปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก
2. ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (Anxiety / Stress Management)
3. กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (Cognitive Skill)
4. กระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้ (Perception)
5. เสริมสร้างสมาธิ (Attention Span)
6. พัฒนาทักษะสังคม (Social Skill)
7. พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (Communication and Language Skill)
8. พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skill)
9. ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle Tension)
10. ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ (Pain Management)
11. ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Behavior Modification)
12. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ (Therapeutic Alliance)
13. ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
โดยสรุปดนตรีบำบัด มีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เสริมสร้างสุขภาวะทาง
ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบูรณาการเข้ากับการรักษาอื่นๆ
กระบวนการและรูปแบบดนตรีบำบัด
ในการทำดนตรีบำบัด ไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล มีการวางแผนการบำบัดรายบุคคล โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
1. การประเมินผู้รับการบำบัดรักษา
- ศึกษาข้อมูลประวัติส่วนตัว และประวัติทางการแพทย์
- ประเมินปัญหา และเป้าหมายที่ต้องการบำบัด
- ประเมินสุขภาวะ ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และทักษะการคิด
2. วางแผนการบำบัดรักษา
- ออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม โดยยึดเป้าหมายเป็นสำคัญ
- รูปแบบผสมผสาน กระบวนการต่าง ๆ ทางดนตรี เช่น ร้องเพลง แต่งเพลง ประสานเสียง จินตนาการตาม หรือลีลาประกอบ เป็นต้น
3. ดำเนินการบำบัดรักษา
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัด กับผู้รับการบำบัด โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ
- ทำดนตรีบำบัด ร่วมกับการบำบัดรักษารูปแบบอื่น ๆ แบบบูรณาการ
4. ประเมินผลการบำบัดรักษา
- ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และปรับแผนการบำบัดให้เหมาะสม

ดนตรีบำบัดในโรงพยาบาล
ในโรงพยาบาลต่าง ๆ มีการนำดนตรีบำบัดมาร่วมบูรณาการเข้ากับการบำบัดรักษาอื่น ๆ เพื่อเป้าหมายต่าง ๆ กัน ดังตัวอย่างเช่น
1. กระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
2. ช่วยเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
3. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ก้าวร้าว รุนแรง อยู่ไม่นิ่ง ร่วมกับพฤติกรรมบำบัด และการบำบัดโดยใช้ยา
4. ช่วยให้สงบ และนอนหลับได้ ในผู้ที่มีความกลัว ความเครียด ร่วมกับการปรับสิ่งแวดล้อม และการใช้ยา
5. ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ร่วมกับการใช้ยา และจิตบำบัดในโรคซึมเศร้า
6. เสริมในกระบวนการบำบัดต่าง ๆ ทางจิตเวช
7. ลดความเจ็บปวด ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวด

ดนตรีบำบัดในโรงเรียน
ในโรงเรียนมีการนำดนตรีบำบัดมาใช้ใน 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็ก ในทักษะด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากทักษะทางดนตรี เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย
2. เสริมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP - Individualized Educational Program) สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ลักษณะเครื่องดนตรีไทย

โดยทั่วไปวงดนตรีไทยที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วทุกภาคของประเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทได้แก่ 1. วงปี่พาทย์2. วงเครื่องสาย3. วงมโหรี
วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องประเภท "เครื่องตี" เป็นเครื่องดนตรีสำคัญหรือเป็นตัวเอก ได้แก่ ระนาด กับ ฆ้องวง และมีเครื่องเป่าคือ ปี่ เป็นตัวสำคัญรองลงมา นอกจากนั้นมีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ เช่น กลอง,ฉิ่ง,ฉาบวงเครื่องสาย เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องประเภท "เครื่องสาย" เป็นหลักอันได้แก่ ซอด้วง กับซออู้ และมีเครื่องเป่า คือ "ขลุ่ย" สำคัญรองลงมา นอกจากนั้นมีเครื่องประกอบจังหวะคือ ฉิ่ง,ฉาบ,กลอง เครื่องดนตรีที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในวงเครื่องสายคือ "จะเข้" วงมโหรี เป็นวงดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีจากวง"ปี่พาทย์" กับวง "เครื่องสาย" มาผสมกัน ดังนั้น วงมโหรีจึงประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ ระนาด,ฆ้องวง,ซอสามสาย,ซอด้วง,ซออู้,ปี่,ขลุ่ย,จะเข้, และเครื่องประกอบจังหวะทั้งหลายเท่าที่เห็นสมควร ข้อสังเกต ปี่ไม่มีในวงมโหรี
นั้นคือการแบ่งลักษณะของวงดนตรีไทยออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ต่อไปเราจะมาดูลึกในรายละเอียดของวงแต่ละประเภทกันว่าเป็นอย่างไร
ประเภทของวงปี่พาทย์ยังแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้อีก ตามแต่จุดประสงค์ ของการใช้งานดังนี้

1. วงปี่พาทย์ชาตรีเป็นวงปี่พาทย์โบราณที่มีเครื่องดนตรีน้อยที่สุด เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุง และมโนราห์ เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีประเภทนี้ได้แก่ ปี่นอก ฆ้องคู่ โทน 1คู่กลองชาตรี 1 คู่กรับ ฉิ่ง

2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
วงปี่พาทย์สามัญสำหรับประกอบการแสดง และ ประโคมในงานทั่วไป มี 3 ขนาด ดังนี้
2.1 วงปี่พาทย์เครื่องห้า ใช้เครื่องดนตรีและผู้บรรเลงคือ ระนาดเอก 1 คน ฆ้องวงใหญ่ 1 คน ปี่ใน 1 คน ฉิ่ง 1 คน ตะโพนหรือกลองทัด 1 คน

2.2
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ระนาดเอก 1 คน ระนาดทุ้ม 1คน ฆ้องวงใหญ่ 1 คน ฆ้องวงเล็ก 1 คน ปี่ใน 1 คน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง 1 คน ฉาบ 1 คน ตะโพนหรือกลองทัด 1 คน
2.3 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงคือ
ระนาดเอก 1 คน ระนาดทุ้ม 1คน ระนาดเอกเหล็ก 1 คน ระนาดทุ้มเหล็ก 1 คน ฆ้องวงใหญ่ 1 คน ฆ้องวงเล็ก 1 คน ปี่ใน 1 คน ปี่นอก 1 คน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง 1 คน ฉาบ 1 คน ตะโพนหรือกลองทัด 1 คน
***หมายเหตุ***วงปี่พาทย์ไม้แข็งทั้งสามชนิดนี้ ไม้ที่ผู้เล่นใช้ในการบรรเลงระนาดจะใช้ไม้แข็ง (หัวหุ้มที่ใช้ตีจะแข็งทำให้เสียงดัง แข็ง เกรี้ยวกราด) สำหรับกลองอาจใช้กลองแขกตีแทนกลองทัดและตะโพนได้ในการบรรเลงเป็นบางเพลงข้อสังเกต นักศึกษาคงจะสับสนอยู่บ้างเกี่ยวกับจำนวน,ประเภทของวงแต่ละประเภท ลองพิจารณาดูความแตกต่างเหล่านี้- วงปี่พาทย์เครื่องห้า มีจำนวนเครื่องดนตรีอย่างละ 1 ชิ้น - วงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีจำนวนเครื่องดนตรีอย่างละ คู่ กล่าวคือ มีทั้งระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ - หากวงใด มีระนาดเล็กด้วย นั้นคือวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
3. วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ชนิดนี้ใช้เครื่องดนตรี ผู้บรรเลง ,และขนาดของวง เหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเกือบทุกอย่าง ส่วนที่แตกต่างก็คือ- ใช้ ขลุ่ยเพียงออ แทนปี่ใน- เพิ่ม ซออู้ - ใช้ไม้นวมตีระนาดเอกไม้ระนาดเอกเหล็ก (ทำให้เสียงนุ่มนวลขึ้น)
4. วงปี่พาทย์มอญ
เครื่องดนตรีของวงปี่พาทย์มอญนี้ ปิดทองหรือทาด้วยสีทองเกือบทุกชิ้น วงปี่พาทย์มอญเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไทย กล่าวคือ มีเครื่องห้า ,เครื่องคู่, เครื่องใหญ่ เช่นกัน มีข้อแตกต่างกันดังนี้-ใช้ปี่มอญ แทนปี่ใน (ปี่มอญ เสียงต้อต่ำฟังเสียงแล้วเยือกเย็นและวังเวง) - ใช้ฆ้องมอญ แทน ฆ้องวง- ใช้ตะโพนมอญ แทน ตะโพนไทย- เพิ่มเปิงมางคอกเข้า (เปิงมางคอก ใช้เปิงมาง 7 ลูกเทียบให้มีเสียงสูง - ต่ำ ตามลำดับผูกร้อยเข้ากับคอกเปิงมาง)วงปี่พาทย์มอญนิยมบรรเลงในงานศพ เพราะมีทำนองฟังแล้วโหยหวลชวนให้เกิดความเศร้าใจ 5. วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้เครื่องดนตรีเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่างนอกจาก-ใช้ ปี่ชวา แทน ปี่นอก - ใช้กลองมะลายู 1 คู่ แทน กลองตะโพนและกลองทัดวงปี่พาทย์นางหงส์นี้ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เครื่องดนตรี

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รายงาน"สุนทรียศาสตร์กับดนตรี"

ความหมายของดนตรี
ความหมายของ Music ในภาษากรีก หมายถึง ศิลปะประเภทหนึ่ง ไม่เฉพาะแต่การเล่นเครื่องดนตรี การร้องเพลง หรือลีลาศเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงอักษรศาสตร์ทุกประเภท โดยเฉพาะ บทกวี นาฎกรรม วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ด้วย
สุกรี เจริญสุข (2532 : 8 – 9) กล่าวถึงความหมายของดนตรีว่า ดนตรีเป็นงานศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาศัยเสียงเป็นสื่อถ่ายทอดความรู้สึกของศิลปิน เสียงดนตรีเป็นเสียงที่มีความงาม นำมาเรียบเรียงอย่างมีศิลปะ กลายเป็นบทเพลง
ความแตกต่างระหว่างเสียงดนตรีกับเสียงอื่น ๆ คือ เสียงดนตรีเป็นเสียงที่ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยความงดงามของเสียง ศิลปินผู้สร้างเสียงได้สอดใส่อารมณ์ลงไปในเสียง เพื่อให้เสียงมีความรู้สึกทางศิลปะ (วิญญาณของศิลปะ) ส่วนเสียงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เสียงดนตรี เป็นเพียงเสียงที่ขาดคุณสมบัติทางศิลปะ กล่าวคือ ขาดความรู้สึกทางศิลปะในเสียง ขาดวิญญาณศิลปินในเสียง
อารมณ์ ความรู้สึก สิ่งที่มากระทบตัณหา หรือความอยาก สิ่งเหล่านี้จะถูกบันทึกลงไปในดนตรี เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของศิลปะ อารมณ์ในดนตรีก็เหมือนกับอารมณ์ชีวิต ศิลปินถ่ายทอดลงไปในผลงานดนตรีที่มีอารมณ์ก็จะสื่อไปกระทบความรู้สึกต่อผู้ชม หรือผู้ฟังได้ ศิลปินเก่งผลงานดี ย่อมมีโอกาสถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟังได้ดี
ดนตรีเป็นศิลปะที่ถูกนำไปแปรความหมายต่าง ๆ มากมาย การค้นหาความหมายในเสียงดนตรี นักภาษาศาสตร์ได้พยายามนำเสียงดนตรีมาตีความ ให้นิยายที่ได้ยินทั่วไปว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากล” บางครั้งก็จะได้ยินว่า “ดนตรีเป็นภาษาของอารมณ์”

ดนตรีกับการดำรงชีวิตของมนุษย์
ดนตรี เป็นวิจิตรศิลป์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างใกล้ชิด ชีวิตประจำวันของมนุษย์มักมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ดนตรี เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ (สุกรี เจริญสุข. 2532 : 4 – 7)
1. เกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต คนตะวันตกเชื่อว่าวิญญาณกลับไปสู่พระเจ้า โดยอาศัยเสียงดนตรี จะได้ได้ว่า ดนตรีในสังคมตะวันตกเป็นเรื่องของจิต เรื่องของวิญญาณที่เกี่ยวข้องกับความสะอาด ความสูงส่งของดนตรีทำให้ดนตรีเจริญ สำหรับคนตะวันออกในอดีตมีความเชื่อว่า “ ดนตรี ” เป็นวิชาชั้นต่ำ เป็นกิเลส เป็นข้าศึกแห่งกุศล ดังนั้นดนตรีในสังคมตะวันออกจึงค่อนข้างตกต่ำ ไม่ได้รับการพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองดังชาติตะวันตก
2. ดนตรีเกี่ยวข้องกับจิต เมื่อดนตรีเป็นสื่อ หรือพาหะที่จะนำให้จิตไปสู่ภาวะใดภาวะหนึ่ง ทำให้จิตดำ หรือทำให้จิตขาวก็ขึ้นอยู่กับพาหะ เมื่อวิญญาณกลับไปสู่พระเจ้าด้วยดนตรี ดนตรีก็เป็นเรื่องบริสุทธิ์ ขณะเดียวกันดนตรีเป็นอกุศล มีศีลข้อที่เจ็ดของพุทธศาสนา ให้ละเว้นการขับร้องและประโคมดนตรี ดนตรีก็เป็นของชั้นต่ำ ดังเช่นคำกลอนในวรรณคดีเรื่อง “ พระอภัยมณี ” ของ สุนทรภู่ กล่าวแสดงความคิดว่า ดนตรีเป็นหน้าที่ของทาส และไพร่ ดังคำกลอนต่อไปนี้
“อันดนตรีปี่พาทย์ตะโพนเพลง เป็นนักเลงเหล่าโลนเล่นโชนหนัง
แม้พวกกูผู้หญิงที่ในวัง มันก็ยังเรียนร่ำจนชำนาญ”
และอีกแง่มุมหนึ่งในเรื่อง “พระอภัยมณี” กล่าวถึง คุณค่าของดนตรี ดังนี้
“แม้นปี่เราเป่าให้ได้ยิน ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา”
นอกจากนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวถึงดนตรีมีคุณค่าต่อจิตที่บริสุทธิ์ มีความสะอาด
โดยกล่าวว่า “ดนตรีและศิลปะบริสุทธิ์มีคุณ สนับสนุนความมีจิตว่าง” เมื่อดนตรีหยาบ ๆ ก็มีโอกาสที่จะทำให้จิตที่สัมผัสกับดนตรีหยาบตามไปด้วย ทำนองเดียวกัน ดนตรีที่ละเอียดอ่อน เมื่อสัมผัสกับจิตก็มีโอกาสทำให้จิตละเอียดอ่อนตามไปด้วย ดนตรีจึงเป็นเพียงสื่อที่จะนำไปสู่ความดำ หรือความขาวได้
3. ดนตรีเกี่ยวข้องกับศาสนาและพิธีกรรม เมื่อดนตรีสามารถเป็นสื่อชักนำไปสู่ความดำหรือความขาว นักการศาสนาจึงนำเอาดนตรีไปเป็นอุปกรณ์การสอน ปรุงแต่งเพื่อช่วยให้คนเข้าใจศาสนาได้ง่ายขึ้น โดยใช้ในรูปของเพลงสวด ดนตรีประกอบพิธีกรรม สำหรับในพุทธศาสนาก็มีเพลงสาธุการ เพลงหน้าพาทย์ ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ส่วนประเทศทางตะวันตก ดนตรีที่ใช้ในอดีตมักเป็นดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมเกือบทั้งสิ้น
4. ดนตรีเกี่ยวข้องกับการเมือง ในรูปของเพลงปลุกใจ ปลุกศิลปวัฒนธรรมปลุกความสามัคคีของคนในสังคม เพลงประจำชาติ เพลงเกียรติยศ ล้วนแล้วแต่เป็นดนตรีที่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น ขงจื้อ นักปราชญ์จีนเขียนไว้ว่า “ประสบการณ์ของมนุษย์ชาติหลายศตวรรษแล้วได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีสิ่งใดจะเชื่อมความสัมพันธ์ของมนุษย์ให้กระชับได้ดีเท่าเสียงดนตรี และเสียงเพลง ดนตรีนำความสามัคคีมาสู่ป่วงชน ดนตรีเป็นภาษาสากลที่ทุกคนรับรู้ได้ สัญลักษณ์เป็นสื่อภาษาทางปัญญา ในขณะที่ดนตรีเป็นสื่อแห่งหัวใจ” (สุกรี เจริญสุข : 99 ปี เพลงสรรเสริญพระบารมี)

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Bangkok กรุงเทพยามราตรี

ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์


.....สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งททางร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจในด้านบวก จึงนับว่ามีประโยชน์หลายประการ ดังนี้


  1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจความงามอย่างสมเหตุสมผล

  2. ช่วยกล่อมเกลาให้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล

  3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียธให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข

  4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม

  5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์มีประโยช์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร





......สุนทรียศาสตรกับวิชาชีพพยาบาล.....
การที่เราจะเป็นพยาบาลที่ดีได้ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติหลายประการ สุนทรียศาสตร์ช่วยให้การเป็นพยาบาลมีความสมบูรณืยิ่งขึ้นโดย






        • เสริมทั้งปัญญาให้เกิดความคิดถึงสัจจะธรรมความไม่เที่ยงแท้ เกิด แก่ เจ็บ ตายของมนุษย์
        • เกิดความคิดที่ช่วยเตือนสติตนเองให้มีอารมณ์ที่มั่นคง ต้องตั้งมั่นและอย่าหวั่นไหวกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต

        • เกิดการยอมรับกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งคนรอบข้างและตัวเราเอง

        • ช่วยให้เรารับรู้เรื่องราวต่างๆผ่านสีหน้า ท่าทาง แววตา ผ่านไปถึงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างเหมาะสม

        คำถามบทเรียน "วิชาสุนทรียศาสตร์"


        ........สุนทรียศาสตร์คืออะไร? เรียนไปทำไม?
        ........สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมอย่างไร?
        ........สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร?



        สุนทรียศาสตร์
        ( Aesthetics )
        คืออะไร ?

        สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”
        ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ
        ~~~~สุนทรียศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยความงาม ซึ่งครอบคลุมถึงความงามในธรรมชาติ และความงามในผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม ตลอดจนกระบวนการสร้างผลงานนั้นๆด้วย~~~~
        ศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
        • ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )
        • ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )
        • ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )
        • จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )
        • สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )
        • ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )

        ความรู้สึกต่อวิชาสุนทรียศาสตร์


        .........ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนวิชาสุนทรียศาสตร์ในเทอมนี้..... เรารู้สึกดีใจมากที่ได้มีโอกาสเรียนวิชานี้ และรู้สึก ว่านักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตต่อเนื่องรุ่น16 วพบ.ราชบุรี เป็นห้องที่โชคดีมากๆอีกห้องหนึ่ง ที่ได้อาจารย์วรรธน์(ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ ) เป็นผู้สอน อาจารย์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถอย่างน่าทึ่ง และเป็นคนน่ารักใจเย็นเหมาะกับการสอนวิชาสุนทรียศาสตร์โดยแท้ จึงทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากการเรียนวิชาหนักๆมาแล้ว และมีโอกาสได้ใช้ความคิดสร้างสรรอย่างอิสระ มีโอกาสได้สร้างWeb blog เพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่ ถึงแม้บางครั้งเราอาจจะมองว่าตนเองเพ้อเจ้อไปบ้าง แต่ไม่เป็นไร.... เพราะทั้งหมดมันคือ "สุนทรียศาสตร์"



        ความงามคืออะไร?
        ความงามเป็นคุณค่าภายในที่เป็นภาพรวมของอารมณ์ที่เพลิดเพลิน อิ่มเอิบ และมีคุณค่าทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า